ป้องการการคลุมดำที่ข้อความ ss Product Information ผลิตภัณฑ์เอมสตาร์: Calphyll แคลฟิลล์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมิลค์แคลเซี่ยม โซเดียมคอปเปอร์ คลอโรฟิลลินและแร่ธาตุ

Thursday, September 2, 2010

Calphyll แคลฟิลล์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมิลค์แคลเซี่ยม โซเดียมคอปเปอร์ คลอโรฟิลลินและแร่ธาตุ


โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงเรื่อย ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างภายในของกระดูก ทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ กระดูกก็จะหักได้ง่ายกว่าปกติ บางคนก็เรียกว่าโรคกระดูกผุ หรือโรคกระดูกบาง ซึ่งกระดูกที่บางลงเรื่อย ๆ นั้นจะค่อย ๆเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้น โรคกระดูกพรุน จึงถือเป็นมหันตภัยเงียบ บ่อยครั้งที่กว่าเราจะรู้ตัวกระดูกก็หักไปแล้ว
โรคกระดูกพรุนพบมากในผู้สูงอายุและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลังวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงจะมีความหนาแน่นของกระดูกลดลงอย่างมาก เมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสกระดูกหักเพิ่มสูงขึ้นด้วย เช่น การทรุดหักของกระดูกสันหลัง การหักของกระดูกสะโพก และการหักของกระดูกต้นขา โรคกระดูกพรุนจึงมีผลต่อคุณภาพชีวิตตั้งแต่ในวัยกลางคนเป็นอย่างมาก การป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ธรรมชาติของกระดูกจะมีการสะสมแคลเซี่ยมซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญ จนเมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี ร่างกายจะเริ่มมีการสลายแคลเซี่ยมจากกระดูกมากขึ้น หากร่างกายไม่ได้รับปริมาณของแคลเซี่ยมเสริมอย่างเพียงพอ กระดูกก็จะบางลง เกิดอาการกระดูกพรุน เปราะ และแตกหักง่าย


กระบวนการเกิดของกระดูกในร่างกาย
กระดูกในร่างกายที่มีลักษณะเป็นแท่ง ๆ นั้นประกอบด้วย กระดูก 2 ชนิด คือ Cortical Bone เป็นกระดูกส่วนเปลือกนอก ซึ่งมีลักษณะแข็งและจับตัวกันอย่างหนาแน่น เป็นส่วนที่มองเห็นจากด้านนอกของโครงกระดูก และ Cancellous Bone จะเป็นส่วนของเนื้อกระดูกข้างในซึ่งกระดูกแต่ละท่อนของร่างกายจะประกอบด้วยกระดูกทั้งสองแบบในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ตำแหน่งของกระดูกนั้น ๆ เช่น ตรงส่วนกลางของกระดูกแขนขา (Long bone) จะประกอบด้วย Cortical bone เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่บริเวณส่วนปลายจะมี Cancellous bone ในปริมาณที่มากขึ้น สำหรับกระดูกสันหลังจะประกอบด้วย Cancellous bone เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งกระดูกทั้งสองแบบ จะมีความเหมาะสมต่อการรับแรงกด หรือแรงกระแทกในลักษณะแตกต่างกัน และมีการตอบสนองต่อเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของแคลเซี่ยมแตกต่างกันด้วย
โครงสร้างของกระดูกประกอบด้วยคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งสำหรับการรองรับการก่อตัวของกระดูก เช่นเมื่อมีแคลเซี่ยมฟอสเฟตมาตกผลึกจับตัวกับคอลลาเจน ก็จะแปรสภาพกลายเป็นของแข็งที่สามารถรับน้ำหนักและมีความยืดหยุ่นได้ หากมองลึกลงไปถึงระดับเซลล์ เราจะพบว่ากระดูกประกอบด้วยเซลล์หลัก 2 ชนิด คือ 1.เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก (Osteoblast) 2.เซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก (Osteoclast) การสร้างและการสลายจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สำหรับในช่วงวัยเด็ก จะมีการสร้างมากกว่าการทำลาย จึงมีการสะสมของแคลเซี่ยมมากที่สุดจนกระทั่งเมื่อร่างกายหยุดสูงแล้ว กล่าวคือ Epiphyxial Plate ปิดแล้วกระดูกยังสามารถมีการหนาตัวได้อีกเล็กน้อยจนอายุประมาณ 30 ปี ซึ่งการสร้างและการทำลายมีเท่า ๆ กัน ก็ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกคงที่อยู่ระยะหนึ่ง เมื่ออายุมากขึ้นการทำลายมากกว่าการสร้าง ร่างกายจึงเริ่มสูญเสียเนื้อกระดูกปีละ 0.5-1% ไปเรื่อย ๆ โรคกระดูกพรุนมิได้หมายความว่าผู้สูงอายุทุกคน จะต้องมีอาการของกระดูกพรุนมิได้หมายความว่าผู้สูงอายุทุกคน จะต้องมีอาการของกระดูกสันหลังทรุด หรือกระดูกเชิงกรานหัก เพราะร่างกายของคนเรามีการสะสมของเนื้อกระดูกในช่วงเด็ก ๆ และวัยรุ่นไม่เหมือนกัน ในคนที่มีการสะสมของเนื้อกระดูกช่วงวัยรุ่นมากแม้เมื่อตอนสูงอายุ และร่างกายเริ่มมีการทำลายของกระดูก เขาก็อาจจะยังมีความหนาแน่นของกระดูกมากพอที่จะดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
พันธุกรรม คนผิวขาวมีโอกาสเป็นมากกว่าคนเอเซีย และคนผิวดำ เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย ฮอร์โมน ขาดเอสโตรเจนฮอร์โมน, ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป, ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป, ได้รับยาทดแทนไทรอยด์ฮอร์โมน พฤติกรรม เช่น สูบบุหรี่จัดหรือไม่ได้ออกกำลังกาย
โภชนาการ ได้รับแคลเซี่ยมจากอาหารน้อยเกินไปหรือไม่เพียงพอ
จะทราบได้อย่างไรว่ากระดูกเริ่มพรุนแล้ว
ในปัจจุบันเราสามารถวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density Measurement) ได้ด้วยเครื่อง DEXA (Dual Energy X-ray Absorptionmetry) โดยการวัดความหนาแน่นของกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา ปลายกระดูกข้อมือ และนำค่าที่วัดได้ไปเปรียบเทียบกับค่าปกติของเพศ และช่วงอายุเดียวกัน สำหรับการวินิจฉัยว่าอยู่ในภาวะกระดูกพรุน เราจะดูค่า BMD < 2.5 SD (Standard Diviation) ของประชากรในวัยหนุ่มสาว ถ้ากระดูกมี Bone Mineral Density (BMD) < 1.00 gm/cm2 จะมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายมาก การวัดความหนาแน่นของกระดูก 2 ครั้งโดยห่างกัน 1-2 ปี จะช่วยให้สามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์โรคกระดูกพรุนได้ และเป็นวิธีที่ใช้ประกอบในการตัดสินใจวางแผนการป้องกัน หรือรักษาโรคกระดูกพรุนต่อไป เราไม่นิยมการวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด เพราะยังไม่มีความแม่นยำเพียงพอ และมีค่าใช้จ่ายสูง
การเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก
เนื่องจากโดยปกติทั่วไป กระดูกจะมีทั้งการสร้างและการสลาย เมื่ออายุมากขึ้นการสลายจะมีมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะในกรณีที่ร่างกายขาดสารอาหารที่ส่งเสริมกระบวนการสร้างกระดูก อาหารจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ และการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เราสามารถทำได้ตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว เพื่อให้เราสะสมความหนาแน่นของกระดูกไว้ได้มาก และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น
แคลเซี่ยม Calcium
หน้าที่หลักสำคัญของแคลเซี่ยม คือ การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และแคลเซี่ยมยังมีหน้าที่สำคัญ ในการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ได้แก่ ช่วยการแข็งตัวของเลือด เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจเป็นปกติ และช่วยให้ส่งสัญญาณประสาทมีความถูกต้อง ช่วยรักษาสมดุลของกรด-ด่างในเลือด และรักษาระดับความดันโลหิตให้คงที่ เมื่อแคลเซี่ยมในกระแสเลือดต่ำกว่าปกติ ร่างกายจะทดแทนด้วยการดึงแคลเซี่ยมจากกระดูกมาใช้ และทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง โดยทั่วไปแคลเซี่ยมจะถูกดูดซึมผ่านผนังของลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด และจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ประมาณ 10-40% ของแคลเซี่ยมที่เรารับประทานเข้าไป ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซี่ยมได้น้อยลง ได้แก่ ภาวะขาดวิตามินดี, การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง, อาหารที่มีกรดออกซาลิค กาแฟ, แอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่ ส่วนอาหารที่ให้แคลเซี่ยมมาก ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม แต่ต้องระวังเรื่องไขมันและคลอเลสเตอรอลด้วย รองลงมาได้แก่ ปลาหรือสัตว์ที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาป่น ปลากระป๋อง ถั่ว ลูกนัท ผักใบเขียว เช่น กวางตุ้ง ผักคะน้า ผักบล็อคโคลี่ (เป็นกลุ่มผักที่มีแคลเซี่ยมสูง)
การบริโภคแคลเซี่ยมทดแทนจะช่วยลดอัตราการสูญเสียของแคลเซี่ยมในกระดูก ดังนี้ในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนควรได้รับแคลเซี่ยมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ส่วนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนควรได้รับแคลเซี่ยมวันละ 1,500 มิลลิกรัม

No comments:

Post a Comment

About Blog

Blog นี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็น "คลังข้อมูล" แก่กลุ่มสายงานเท่านั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทแต่อย่างใด ท่านผู้ใดสนใจร่วมธุรกิจ หรือ ต้องการ dowload ข้อมูล กรุณาติดต่อผ่าน Email: cherrypowergroup@gmail.com